การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงโครงสร้าง รหัส 30901-1001 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาชุดการสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงโครงสร้าง รหัส 30901-1001 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงโครงสร้าง รหัส 30901-1001 ด้วยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอนรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงโครงสร้าง รหัส 30901-1001 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขางานนักพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงโครงสร้าง รหัสวิชา 30901-1001 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยเทคนิคพังงา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงซึ่งเป็นกลุ่มที่ผู้วิจัยสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการสอนวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงโครงสร้าง รหัสวิชา 30901-1001 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพของชุดการสอนสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุป พบว่า 1) ชุดการสอนรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงโครงสร้าง รหัส 30901-1001 ตรงตามหลักสูตรรายวิชา ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และประสิทธิภาพของชุดการสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.85/81.25 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนโดยการทดสอบค่าที (t-test dependent) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนมีค่าระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยชุมชนพังงา
References
จารุวัฒน์ แสนคำ. (2551). การใช้เอกสารประกอบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม สาระพระพุทธศาสนา เรื่องหลวงปู่บ้านโพน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. มหาสารคาม : โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม.
ชลกานต์ ชาลีเครือ. (2550). การสร้างและใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาดนตรีพื้นบ้านอีสานโปงลาง ศ 31201 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ชัยภูมิ : โรงเรียนละหานเจริญวิทยา.
ใบหยก เมธนาวิน. (2546). รายงานการใช้เอกสารประกอบการสอน วิชา การบัญชีต้นทุน 2 (3201-2102). นครราชสีมา : วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา.
พรสุดา บัตรพันธนะ. (2561). สาเหตุของการขาดแคลนแรงงานคุณภาพด้านไอที กรณีศึกษาเกี่ยวกับองค์กรให้บริการออกแบบระบบด้านไอทีแห่งหนึ่งในประเทศไทย. (สารนิพนธ์สาขาทุนมนุษย์และการจัดการองค์กร), การจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้าบทคัดย่อ
สิริพันธ์ วิเชียรรัตน์. (2549). รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาระบบบัญชี (3201-2010). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม.
สุภาภรณ์ น้อยทรงค์. (2552). การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีสามัญหลักสูตรลูกเสือโท ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มุกดาหาร : โรงเรียนบ้านบาก.