ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยชุมชนพังงา ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยชุมชนพังงา

Main Article Content

เสาวคนธ์ ศรีสุคนธรัตน์
สุนิสา ประทีป ณ ถลาง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 วิทยาลัยชุมชนพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบริบทและสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอน และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยชุมชนพังงา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศหญิง ศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 มากที่สุด รองลงมา เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ผลการศึกษา พบว่า
1. นักศึกษามีความคิดเห็นต่อบริบทและสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอนโดยรวมในระดับมาก และเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมเป็นรายด้านแล้ว นักศึกษามีความคิดเห็นต่อด้านผู้สอน มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อมของการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านเจตคติต่อหลักสูตร ตามลำดับ
2. นักศึกษามีข้อเสนอแนะการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ดังนี้ ด้านหลักสูตร พบว่า ควรเพิ่มเนื้อหาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติให้เพิ่มมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านการพัฒนาอาชีพการเป็นผู้ประกอบการ เช่น ภาษา คอมพิวเตอร์ และการตลาดดิจิทัล เป็นต้น ด้านผู้สอน พบว่า ต้องการให้ผู้สอนใช้สื่อและเทคนิคการสอนใหม่ๆให้สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชา เพื่อจูงใจผู้เรียน ด้านเจตคติต่อหลักสูตร พบว่า หลักสูตรมีภาพลักษณ์ที่ดี มีกิจกรรมการสร้างจิตสำนึก และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ต้องการให้การจัดการเรียนการสอนควรเป็นไปตามหลักสูตรหรือแผนการสอนที่วางไว้ ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ควรจัดห้องเรียน คอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อผู้เรียนและสัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุมพื้นที่ ด้านการวัดผลและประเมินผล พบว่า ต้องการให้ มีการวัดผลและประเมินผลอย่างยุติธรรม แจ้งคะแนนเป็นระยะๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เข้าร่วมกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ:บริษัท สุวีริยาสาส์นจำกัด.

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2563). การพัฒนาการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค

Multiple-Task Mastery Checklist เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียน ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. Journal of Early Childhood Education Management ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2563.

พิทยา ผ่อนกลาง. (2561). การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ปีการศึกษา 2559. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 5 ประจำปี 2561 (5th NMCCON 2018) “วิจัยและพัฒนาสู่การขับเคลื่อนสังคมอย่างยั่งยืน” วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.

วรวุฒิ พันธาภา และจิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ กับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสบางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (2022) มกราคม - มิถุนายน 2565.

วรญา ทองอุ่น และจันจิราภรณ์ ปานยินดี. (2560). ความพึงพอใจต่อหลักสูตรการบริหารทรัพยากรมนุษย์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2560).

วราภรณ์ เลิศขามป้อม. (2566). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 5(1) : มกราคม - เมษายน 2566.

ศิริพร น้อยวงศ์ และคณะ. (2561). การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561.