ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการการจัดการที่มีต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการการจัดการที่มีต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลจากวิจัยพบว่า จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 13 คน พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการมีความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .46 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจด้านสัมพันธภาพระหว่างผู้สอนและผู้เรียนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .43 รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษา มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .48 และน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.34 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .54
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยชุมชนพังงา
References
กฤติญา บุญสินชัย และเอกราช โฆษิตพิมานเวช (2565). การจัดการสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวทางคอนสตรัคติวิสต์. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ และคณะ.(2564). ความพึงพอใจของนักศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาโสตประสาท. กรุงเทพฯ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
พัฒนา พรหมณี และคณะ.(2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. อยุธยา สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา.
ศุภณัฐ จันทโชติ (2564) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทฤษฎีดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎสมเด็จเจ้าพระยา.
สถาบันวิทยาลัยชุมชน. (2560). แผนยุทธศาสตรสถาบันวิทยาลัยชุมชน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565). กรุงเทพฯ:สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.