คนตัวโตผู้ถูกขังไว้: เสียงจากรอยร้าวแห่งอำนาจผ่านกลวิธีการนำเสนอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทวรรณกรรมวิจารณ์ "เสียงจากรอยร้าวแห่งอำนาจ: การสะท้อนสังคมผ่านกลยุทธ์การนำเสนอ" นำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องสั้น "คนตัวโตผู้ถูกขังไว้" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรวมเรื่องสั้น "Divine Being ไม่ใช่มนุษย์และตัวตนอื่น ๆ" โดย จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท เรื่องสั้นนี้ถ่ายทอดประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ การกดทับ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านการใช้กลวิธีเชิงสัญลักษณ์ เช่น ความแตกต่างของขนาดตัวละครที่สะท้อนความไม่เท่าเทียมในสังคม การผูกปมด้วยข้อเสนอจาก "คนตัวโต" ที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ และการดำเนินเรื่องที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง บทวิจารณ์ยังชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของจิดานันท์ในการนำปรัชญา การเมือง และจินตนาการมาผสานเข้าด้วยกัน ทำให้ผลงานของเธอมีความลุ่มลึกเกินกว่านิยายไซไฟทั่วไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)
References
กนกวรรณ ไทยเจริญ. (2566). กลวิธีการนำเสนอและการสะท้อนสังคมในเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2560-2565.วารสารวรรณกรรมศึกษา, 15(2), 125-142.
จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท. (2566). Divine Being ไม่ใช่มนุษย์ ตัวตนอื่น ๆ. แซลม่อน.
ปิยะพร สมบูรณ์ และ วรวรรณ เหมชะญาติ. (2567). การวิเคราะห์กลวิธีการสะท้อนปัญหาสังคมในเรื่องสั้นร่วมสมัยของไทย (พ.ศ. 2563-2566). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 42(1), 78-96.