การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ รูปร่าง รูปทรงของเด็กปฐมวัยโดย การจัดประสบการณ์เกมการศึกษา

Main Article Content

สุทธิดา วันนา
ทิพย์อักษร พุทธสริน
วราพร เคหฐาน
นทร์จิรา แสนสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา ก่อนและหลังจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 1/2567 โรงเรียนเทศบาล 1 (วิทยานารี) สังกัดเทศบาลเมืองชัยภูมิ จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 24 แผน 2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการวิจัย The One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่า t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า ผลรวมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงสำหรับเด็กปฐมวัย จากกลุ่มตัวอย่าง 31 คน รวมผลทั้ง 3 ด้าน ก่อนทดลอง มีค่าเฉลี่ย (M) 4.77, (SD) 0.32 แปลผลระดับปรับปรุง หลังทดลอง มีค่าเฉลี่ย (M) 9.68, (SD) 0.14 แปลผลระดับมาก เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เกมการศึกษามีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงสูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
วันนา ส., พุทธสริน ท., เคหฐาน ว., & แสนสมบัติ น. (2025). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ รูปร่าง รูปทรงของเด็กปฐมวัยโดย การจัดประสบการณ์เกมการศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS), 2(2), 16–28. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/793
บท
บทความวิจัย

References

Bloom, B. S., et al. (1986). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw-Hill.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper & Row.

Piaget, J. (1964). Cognitive development in children: Development and learning. Journal of Research in Science Teaching, 2(3), 176-186.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐญา นันทราช. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิพย์อักษร พุทธสริน. (2567). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูม. Journal of Buddhist Education and Research, 10(4), 293-307.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพ 2. บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด.

สุณี บุญพิทักษ์. (2557). วิจัยชั้นเรียนปฐมวัย หลักการปฏิบัติจากประสบการณ์. ปัญญาชน.

สุภาวิณี ลายบัว. (2559). การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล ปี 2559 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุมาพร เฉลิมผจง. (2556). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุมารีย์ ไชยประสพ. (2558). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษาโรงเรียนโป้งน้ำร้อนวิทยา [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.